Monday, May 27, 2013

แนะนำการเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน


การ เลี้ยงวัวชนในภาคใต้ มีการเลี้ยงกันมานาน แต่เพิ่งจะมาเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ทั้งในพื้นที่ภาคใต้และแพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นด้วย ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนสนามวัวชนที่มีเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดพัทลุงและนครศรีธรรมราช มีสนามวัวชนเกือบทุกอำเภอ ส่งผลให้ราคาของวัวชนในปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นกว่าในอดีต

ปัจจุบัน ลูกวัวชนที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติที่ดี ราคาไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท ต่อตัว ส่วนวัวชนโตเต็มวัยราคาไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท ต่อตัว ทำให้เจ้าของวัวชนต้องดูแลและเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูทั้งเรื่องอาหารการกิน การฝึกซ้อม การออกกำลังกาย การทำความสะอาดร่างกาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี เจ้าของวัวชนจะนำวัวไปตรวจสุขภาพ ฉีดยาบำรุง ถ่ายพยาธิ ก่อนที่จะมีการแข่งขันทุกครั้ง โดยให้สัตวแพทย์เป็นผู้ตรวจ



สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพสัตว์ใน 14 จังหวัดของภาคใต้ จึงมีนโยบายให้คณะสัตวแพทยศาสตร์ เปิดให้บริการวิชาการและชุมชน

ปัจจุบัน โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ได้เปิดให้บริการตรวจสุขภาพและรักษาวัวชน เป็นประจำทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 08.30-16.00 น. โดยมีการให้บริการ ได้แก่

1. ตรวจสุขภาพร่างกายภายนอก
2. ตรวจเลือด เพื่อตรวจค่าเลือด การทำงานของตับและไต และตรวจหาพยาธิและโปรโตซัวในเลือด
3. ตรวจอุจจาระ เพื่อตรวจหาไข่พยาธิ
4. การตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์และอัลตราซาวด์
5. การศัลยกรรมแก้ไขความผิดปกติต่างๆ โดยมีนายสัตวแพทย์เป็นผู้ตรวจและวินิจฉัยโรค

ในกรณีที่วัวชนมีอาการป่วยที่ซับซ้อน อาจมีการวินิจฉัยและการรักษาที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาการป่วยของสัตว์ ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษานั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าสัตว์ตรวจรักษาอะไร และความซับซ้อนของโรค โดยเบื้องต้นจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ เช่น ค่าตรวจเลือด อุจจาระ ค่ายารักษา ในกรณีที่ต้องใช้ยาและค่าบริการทางการแพทย์ ซึ่งในสัตว์แต่ละตัวก็จะมีความแตกต่างกันไป ซึ่งระบบการให้บริการก็จะเหมือนกับในโรงพยาบาลคน

โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของวัวชนจะนำวัวชนโตเต็มวัย ทั้งที่เคยแข่งขันมาแล้ว และที่ยังไม่เคยแข่งขัน มาตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้น ว่ามีความพร้อมและร่างกายสมบูรณ์เพียงพอที่จะเข้าแข่งขันได้หรือไม่ เนื่องจากถ้าวัวชนร่างกายไม่พร้อมก็อาจจะทำให้เจ้าของวัวสูญเสียเงินเป็น จำนวนมากในการแข่งขัน

ในกรณีที่วัวชนเกิดความผิดปกติของร่างกายที่เจ้าของสังเกตเห็นได้ เช่น มีอาการเหนื่อยหอบง่ายในระหว่างการซ้อม ระยะเวลาในการชนลดน้อยลง วัวกินหญ้าได้น้อยลง เป็นต้น เจ้าของวัว ก็จะนำมาตรวจร่างกายและรักษาด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ ในกรณีที่วัวชนเกิดการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขัน มีบาดแผลฉีกขาดตามร่างกายจากการโดนแทง เจ้าของวัวก็จะนำวัวชนมารักษาบาดแผลและฉีดยารักษาอาการติดเชื้อแทรกซ้อน ป้องกันการเกิดความสูญเสียหลังการแข่งขันด้วย ส่วนในกรณีอื่นๆ ก็สามารถนำสัตว์มารักษาได้เช่นกัน เช่น ลูกโคท้องเสีย เหนื่อยหอบ ไม่กินอาหาร เป็นต้น

ความรู้ในการดูแลและรักษาวัวชนนั้น ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของวัวชนยังขาดความรู้และความเข้าใจในการดูแลรักษาและ ป้องกันโรคสัตว์อยู่มาก และมีความเชื่อบางความเชื่อที่ขัดกับหลักการรักษาและป้องกันโรคในสัตว์อยู่ ดังนั้น เมื่อเจ้าของวัวชนมารับบริการ สัตวแพทย์จะให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล รักษาและป้องกันโรคให้แก่เจ้าของสัตว์ด้วย เช่น โปรแกรมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นโรคระบาดในสัตว์กีบคู่ ซึ่งจะต้องฉีดป้องกันทุก 6 เดือน และแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคปากเท้าเปื่อยในกรณีที่เกิดโรคระบาด โปรแกรมการถ่ายพยาธิ เป็นต้น ในบางกรณีเจ้าของวัวชนก็จะมาขอคำปรึกษาจากสัตวแพทย์ได้โดยตรง

การเลี้ยงและดูแลสุขภาพวัวชนในปัจจุบัน มีพัฒนาไปมากเมื่อเทียบกับในอดีต เจ้าของวัวชนหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพวัวชนมากขึ้น เนื่องจากมีผลต่อการได้เปรียบในการแข่งขัน หากวัวชนมีสุขภาพดี จะมีความแข็งแรงและสามารถต่อสู้กับคู่ต่อสู้ได้ ดังนั้น งานการดูแลรักษาและงานด้านสัตวแพทย์ จึงมีความสำคัญและมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในวงการวัวชนภาคใต้ และยังเป็นการช่วยพัฒนาความรู้และการวิจัยทางด้านวัวชนในภาคใต้ให้มีมากขึ้น ในอนาคต

สูตรลับ วิธีเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน

วิธีเลี้ยงและดูแลรักษาวัวชน

06.00 – 08.00  น. -    นำวัวเดินออกกำลังกายระยะทาง 6-8 กิโลเมตร อาจจะสลับกับการให้วัววิ่งเหยาะๆบ้าง แต่ไม่ควรเกิน  400 เมตร/ครั้ง โดยก่อนนำวัวออกจากบ้าน ควรใช้ผ้าชุบน้ำแล้วบิดให้หมาดๆ  เช็ดตัวเสียก่อน  เป็นการวอร์มอัฟ กล้ามเนื้อ  ควรนำวัวออกกำลังกายสัปดาห์ละ 6 วัน  เท่านั้น

08.00 – 08.30 น.  - หลังการเดินออกกำลังกายแล้ว  ต้องนำวัวไปแทงดินเพื่อเป็นการบริหารกล้ามเนื้อลำคอ  แล้วต่อด้วยให้วัวไปเคลียคลอกับวัวตัวเมีย  เพื่อเป็นการคลายเครียดและคึกคะนอง

80.30 – 09.30  น.  -    นำวัวมาผูกไว้ที่หลัก  แล้วกรอกน้ำตาลอ้อยผสมน้ำในอัตราส่วนน้ำตาลอ้อย  2  ช้อนโต๊ะ  ผสมในน้ำ  1  กระบอก  แล้วตามด้วยน้ำ  6  กระบอก  แล้วนำหญ้าใส่ลังให้วัวกินจนถึงเวลา  10.00 นาฬิกา  (ถือเป็นการผ่อนคลายหรือวอร์มดาวน์วัวไปด้วย)

10.00. – 10.30 น. -     อาบน้ำให้วัวโดยการล้างหน้าล้างตาก่อน  แล้วฉีดใต้ท้องลูกอัณฑะ  ตามด้วยทุกส่วนโดยแปรงถูตามลำตัวเป็นการนวดกล้ามเนื้อไปด้วย  เสร็จแล้วเช็ดตัวให้แห้ง (ถ้าฝนตกหรืออากาศชื้นให้ลงขมิ้นและกรอกยาเขียวใหญ่นานๆ  สักครั้ง เพื่อป้องกันวัวเป็นหวัด)ขั้นตอนนี้ควรใช้เวลา  ประมาณ  30 -40 นาที  ต่อวัว  1  ตัว ) 

10.30 – 13.00 น. -  นำวัวผูกไว้กลางแดด  เพื่อฝึกความอดทนและทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง  ไม่ควรใช้เวลาเกิน  2.5  ชั่วโมง

13.00 – 15.30 น.  -     หลังจากเสร็จสิ้นจากการตากแดดให้นำวัวเข้าร่มให้ดื่มน้ำให้มากๆ  ถ้าวัวดื่มน้ำน้อยให้กรอกรวมแล้วครั้งละ  10 – 12 ลิตร  แล้วใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ เช็ดตัวแล้วให้วัวกินหญ้าพักผ่อน

15.30 – 16.30 น.  -    นำวัวออกเดินเล่นพอเหงื่อซึมๆ ไป- กลับไม่ควรเกิน  3 กิโลเมตร แล้วต่อด้วยการแทงดิน ดมตัวเมีย

16.30 – 17.00 น.  -    ให้วัวพักผ่อนหรือให้กัดกินหญ้าด้วยตนเอง  ตามทุ่งนาถือเป็นการผ่อนคลายในตัวเอง

17.30 – 19.00 น.  -    ให้วัวกินหญ้าให้อิ่มและพักผ่อนอิริยาบถ

19.00 – 21.00 น.  -    ให้วัวได้ตากน้ำค้างในขั้นตอนนี้ให้ก่อไฟด้วยไม่ควรใช้ไม้ที่มีควันมากเพราะจะทำให้สูดดมสารพิษจากไม้ไปด้วยทำให้วัวขาดออกซิเจน  ควรใช้ถ่านไฟที่เผาแล้วมาก่อผิงไฟให้

21.00 – 06.00 น.  -     (วันใหม่)  ให้วัวได้นอนโดยมีหญ้าใส่ไว้ในลัง  และนอนในมุ้ง

(การบำรุงกำลัง)

    1.การถ่ายพยาธินอกจากจะใช้วิธีการฉีดยาถ่ายพยาธิแล้วควรใช้สมุนไพรไทยประกอบด้วย  มะเพ็ด  ลูกกรูด  ใบขี้เหล็ก  ลูกยอ  ย่านตาลหมอน  เกลือ  ยาดำ  ผสมกับในอัตราส่วนพอสมควรดองเอาไว้  3  คืน  แล้วกรอกให้วัวในช่วงเย็น  3  วัน  2  เดือนต่อครั้ง  จะทำให้วัวสมบูรณ์ขึ้น 
    2. การบำรุงกำลัง  ควรให้กินไข่ไก่บ้านผสมน้ำผึ้งรวงในอัตราส่วนไข่ไก่บ้าน  7  ฟอง  น้ำผึ้งรวง  2  ช้อนโต๊ะ  3  วัน/ครั้ง  ถ้าวัวถูกคู่  2  วัน/ครั้ง  ในช่วงเย็น
    3. น้ำมะพร้าวอ่อน  ควรให้กินบ้างเป็นการล้างสารพิษ  อาทิตย์ละครั้ง  น้ำมะพร้าวไม่ควรต่ำกว่า  7  ลูกต่อ  1  ครั้ง  ถ้าช่วงถูกคู่ก่อนชน  4  วัน  กินวันเว้นวัน  ในช่วงเวลา  เสร็จสิ้นการตากแดด
    4. การกินกล้วยน้ำว้า  กล้วยน้ำว้ามีวิตามินหลายชนิด   ควรให้กินบ่อยๆ  สัปดาห์ละ  3 – 4 หวี  ทำให้วัวสมบูรณ์  แต่ถ้าช่วงติดคู่ควรให้กินวันละ  2 - 3  ลูกก็พอ  เพราะจะให้วัวสมบูรณ์เกินไป  (ปลักเนื้อ) 
    5. การฉีดยาบำรุง  ควรฉีด  3 - 4 เดือนต่อครั้ง  เพราะถ้าฉีดบ่อยๆจะทำให้วัวแพ้ยา  เมื่ออยู่กลางแดดลิ้นจะห้อย  น้ำลายยืด
    6. การฉีดยาบำรุงคอให้ฉีดก่อนชน  1  เดือน  1  เข็ม  และก่อนชน  15  วัน  1  เข็ม  จะให้วัวมีกล้ามเนื้อคอใหญ่และแข็งแรง
    7. ควรใช้น้ำมันมะกอกลูบตามหน้าและคอโหนก  เพื่อป้องกันแมลงวันและลิ้นตอมไต่
    8. การใช้แคลเซี่ยมผงผสมน้ำให้ดื่มหลังจากตากแดดแล้ววันละ  2 – 3 ช้อนโต๊ะ (ควรใช้                  แคลเซี่ยมที่มีคุณภาพดี)
    9. การให้วัวกินหญ้า  ไม่ควรเป็นหญ้าในแปลงเดียวกันทุกวันเพราะวัวจะเบื่อควรเป็นหญ้าผสมหลายๆ ชนิด  แต่ชนิดหลักควรเป็นหญ้าหวาย  เพราะมีโปรตีนสูง  ควรให้วัวกินอิ่มวันละ  3 ครั้ง  (3 พุง) คือ ก่อนตากแดด  1  พุง  หลังจากตากแดด  1 พุง  และก่อนเข้านอน  1  พุง
 
(การซ้อมโคชน)

    1. วัวใหม่  ก่อนประกบคู่ชนควรซ้อมไม่ต่ำกว่า  10 – 15 ครั้ง  เวลาการซ้อมอยู่ในระยะเวลา  10 – 25  นาที  โดยค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นไปเรื่อยๆ  25 วัน/ครั้ง
    2. วัวชนมาแล้ว  ก่อนประกบคู่ครั้งต่อไปควรซ้อม  2 - 3 ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกัน  20 – 25 วัน  ครั้งละ  25 – 30 นาที 

    ข้อควรจำสำหรับการเลี้ยงโคชน

1. ห้ามตีวัว  เพราะจะทำให้วัวกลัวคนเลี้ยงและเกิดความเครียด  และอาจทำร้ายได้เมื่อคนเลี้ยงเผลอ  และเมื่อเวลาชนมีการใช้ไม้เกียจ  วัวอาจจะวิ่งหนีเมื่อคนเลี้ยงเข้าไปเกียจ

2. ห้ามนำวัวเดินออกกำลังโดยการไล่เวียนในแปลงนา  เพราะอาจทำให้วัวเครียด  และ ไม่สู้วัวตัวอื่นๆ  ไปหมด  ควรพาเดินทางไกล

การเลี้ยงวัวชน

การเลี้ยงวัวชน

                   นายลุงมิ่ง  คงดี ปัจจุบันอายุ 70 กว่าปีแล้ว  เลี้ยงวัวชนมาเป็นเวลา 40 ปีกว่า ตั้งแต่จบชั้น ป.4  ก็เริ่มเลี้ยงวัวชนให้น้าชาย เมื่อวัวชนชนะก็ได้รางวัลเป็นกอบเป็นกำทำให้มีกำลังใจ  จึงสนใจเลี้ยงวัวชนเรื่อยมา บางครั้งเลี้ยงได้พอเริ่มเข้าสู่วัยหนุ่ม อายุ 2 – 3 ปี ก็ขายได้ราคาเป็นหมื่นแล้ว ปกติวัวก็จะเริ่มชนได้เมื่ออายุประมาณ 5 – 6 ปี และหากเป็นวัวดีสามารถชนได้เป็น 10 ปี วัวชนที่รูปร่างหน้าตาดีและเขาสวยเมื่ออายุ 5 – 6 ปี ราคาจะไม่ต่ำกว่า  25,000 บาท  หากนำไปลองซ้อมคู่  ถ้าหน่วยก้านเชิงชนดีราคาก็จะพุ่งไปถึง 50,000 หากชนชนะด้วยลีลาท่าทางดี เช่น แทงด้านข้างคู่ต่อสู้  ราคาก็หลักแสนขึ้นไป ชนชนะ 2 ครั้ง ราคาก็จะพุ่งไปถึงสองแสนขึ้นไป  อย่างวัวที่เลี้ยงในรูปชนชนะสองครั้ง เซียนให้ราคาถึง  250,000 บาท แต่ตนเองไม่ขาย ชนครั้งต่อมาไปแพ้หมดรูป เลยขายเป็นวัวตู้ไปได้ราคาเพียงหมื่นกว่าบาท  การเลี้ยงวัวชนจึงมีขึ้นมีลงไม่แน่นอน แต่ตนเองก็เลี้ยงมาโดยตลอด แต่ก็เลี้ยงไม่เกิน 3 ตัว  เพราะต้องตัดหญ้าให้กิน อาบน้ำให้และต้องพาไปฝึกซ้อมใช้เวลากอปรกับปัจจุบันสังขารก็ไม่ไหวแล้ว หากจ้างคนเลี้ยงจะต้องจ่ายไม่ต่ำกว่าเดือนละ          3,000 บาท และต้องเล่นเผื่อเขาด้วยเวลาชน  แต่ที่แน่ๆ เด็กเลี้ยงวัวจะได้ค่าเหนื่อยจากทางบ่อนด้วยอยู่แล้ว เมื่อก่อนเจ้าของบ่อนจะให้ร้อยละ 10 ของเดิมพัน ปัจจุบันทางบ่อนให้ไม่ถึงร้อยละ 10 เพราะเดิมพันสูงกว่าเดิมมาก  เมื่อก่อนชนอย่างสูงแค่เป็นแสน ปัจจุบันบางคู่เดิมพันเป็นล้าน  ปัจจุบันจ่ายให้คนเลี้ยงหรือเจ้าของวัวคิดเป็นเปอร์เซ็นต์น้อยลง แต่รวมความแล้วได้เยอะกว่าเดิม เช่น 5,000-10,000 บาท แต่นี่หมายถึงตัวที่ชนะ ส่วนฝ่ายแพ้จะได้ค่าตอบแทนราวครึ่งหนึ่งของฝ่ายชนะ

การดูแลและฟิตซ้อม

                   ช่วงอายุน้อย ก็ดูแลเหมือนวัวพื้นเมืองทั่วไป หากรูปร่างไม่สวยและเชิงชนไม่เข้าท่าก็จะขายเป็นวัวตู้ไป  ก็ไม่ขาดทุนอะไร แต่หากสามารถผ่านการคัดเป็นวัวชนได้ราคาก็จะเพิ่มเป็นเท่าตัวหรือหลายเท่าตัวดังกล่าวแล้ว แม้แต่วัวสาวก็ยังขายได้เป็นหมื่นบาทขึ้นไป ตนเองจึงเลี้ยงวัวมาโดยตลอด ไว้ชนบ้าง ฟิตซ้อมพอหน่วยก้านดีก็ขายออกไปบ้าง เพราะไม่งั้นก็เอาไม่ไหวเนื่องจากการเลี้ยงวัวชนจะมี� าระมาก  ทั้งตัดหญ้า พาวิ่ง อาบน้ำ และดูแลยุงริ้น คนที่ขยันๆ ก็เลี้ยงได้ไม่เกิน 3 ตัว

                   ในด้านการฟิตซ้อม นายมิ่ง  คงดี  บอกว่าปัจจุบันอายุ 70 กว่าและเป็นสมาชิก อบต. ด้วย พาวัวเดินไม่ไหวแล้ว  แต่ก็ยังเลี้ยงไว้ด้วยใจรัก ปกติทุกเช้าหลังจากให้วัวกินหญ้าสักครึ่งหนึ่งของปริมาณที่จะกินได้เต็มที่แล้ว ก็จะพาวัวเดินออกกำลังกาย เริ่มต้นจาก 3-4 กิโลเมตรก่อน ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็น 5 – 10 กิโลเมตร ในช่วง 3 – 4 เดือนต่อมา ถ้าเป็นช่วงฟิตหนักๆ ก่อนชนจริง ต้องพาวิ่งด้วย บ้างก็ให้เดินลากท่อนไม้ บางคนก็ให้ว่ายน้ำ หรือลุยโคลน แต่ตนชอบพาเดินขึ้นลงควนหรือที่สูงๆ ต่ำๆ มากกว่า วัวจะแข็งแกร่งกว่ากันเยอะ  หากเป็นช่วงที่เปรียบคู่ติดคู่ชนแน่นอนแล้ว จะทำการซ้อมคู่ก่อนชนราว 20 วัน เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นก็จะพาซ้อมหนักอยู่ราวๆ 10 วัน แต่ก่อนชน 10 วัน จะค่อยๆ ผ่อนการซ้อมลง และในวันชนจะพาเดินเพียง 1– 2 กิโลเมตรเท่านั้น ในกรณีวัวหนุ่มจะฟิตซ้อมเตรียมตัวราวๆ 6 เดือนก่อนชนโดยพาเดินวันละ 10 กิโลเมตร และซ้อมครั้งละวันละ 20 – 25 นาที นาน 20 วันต่อครั้ง และหยุดซ้อมช่วงก่อนชนประมาณ 20 วันเช่นกัน โดยปกติการฟิตซ้อมจะหนักเบาแค่ไหนให้ดูที่อาการของวัวเป็นหลัก หากสังเกตเห็นว่าวัวเริ่มหอบเหนื่อย มีน้ำลายไหลยืดแสดงว่าเหนื่อยแล้ว อย่าฝืนไม่งั้นวัวจะดื้อและฝึกยาก

                   หลังจากการฝึกซ้อมจะให้วัวพัก 1 ชั่วโมงแล้วพาวัวมาอาบน้ำขัดสี ฉวีวรรณแล้วให้กินหญ้าจนอิ่ม จากนั้นจึงนำไปตากแดดตอนเช้าประมาณวันละ 2 ชั่วโมง ที่ต้องตากแดดก็เพราะต้องการให้วัว “กร้าว”ซึ่ง หมายถึงไม่อ้วน เนื้อแน่นและทนแดด เพราะวันชนจริงมักเจอช่วงอากาศร้อนเสมอจึงต้องฝึกซ้อมให้เคยชินเอาไว้

อาหารเสริมและการดูแลสุข� าพ

                   เมื่อถามถึงอาหารเสริม  นายมิ่ง  คงดี  บอกว่า จะเสริมพิเศษช่วงหลังติดคู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเสริมด้วย ถั่วเขียวต้มน้ำตาลอ้อย ไข่ไก่ดิบ 5 – 10 ลูก ประมาณ 3 – 5 วันต่อครั้ง กล้วยน้ำว้าให้กินได้บ้างแต่ห้ามเยอะ เพราะจะทำให้ “กลัดเนื้อ” ซึ่งหมายถึงอ้วน เจ้าเนื้อ ชนไม่ไหว ส่วนการดูแลสุข� าพ ลุงบอกว่าจะถ่ายพยาธิปีละ 2 ครั้ง และทำวัคซีนปากและเท้าเปื่อยปีละครั้ง เมื่อถามถึงการใช้สมุนไพรท่านบอกว่าที่ใช้บ้างคือขมิ้นชันเอามาทาตัวทำให้หนังหนา ขนสวย และช่วยไล่แมลงด้วย น้ำมันมะกอกก็ใช้ได้สรรพคุณคล้ายกัน เมื่อในสมัยก่อนหลังชนใหม่ๆ จะใช้ผงขมิ้นผสมน้ำผึ้งรวงทารักษาแผลโคนเขา แต่ปัจจุบันหันไปใช้ยาทาสำเร็จรูปกันหมดแล้ว

เคล็ดลับการเลี้ยงวัวชนให้ชนะ

                   เมื่อถามถึงเคล็ดลับการเลี้ยงวัวชนให้ชนะ คุณลุงบอกว่าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย จากคำบอกเล่าพอสรุปได้ ดังนี้

                   1.   ปราณดี  หมายถึง ต้องเป็นเชื้อสายวัวชั้นดีทั้งจากสายพ่อและแม่ วัวชนที่ดีต้องรูปสวย เขาสวย อดทน และเชิงชนดีด้วย

                   2.   เลี้ยงดีและซ้อมถึง เด็กเลี้ยงวัวต้องเอาใจใส่จริงๆ ให้หญ้าดีๆ และควรเป็นหญ้าธรรมชาติ เช่นหญ้าหวาย ให้อาหารเสริม ถ่ายพยาธิ ดูแลผิวพรรณให้ขนเป็นมัน  กางมุ้งให้นอน  ต้องดูแลวัวด้วยความรักและอ่อนโยน วัวจะไม่ดื้อ ฝึกง่ายและเชื่อมั่นในตัวเอง ที่สำคัญก็คือต้องขยันซ้อมให้ได้ตามแผน หากหวังผล 1 คน ควรเลี้ยงวัว 1 ตัวเท่านั้น

                   3.   หลังประกบคู่กำหนดวันชนแล้ว ก่อนชน 20 วัน ต้องพาวัวไปเช่าคอกอยู่ใกล้ๆ บ่อน และหมั่นพาเข้าไปเดินในบ่อนเพื่อให้เคยชิน แม้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นก็ต้องยอม และช่วงนี้ต้องอยู่เฝ้าใกล้ชิดตลอดเวลาเพราะยิ่งเดิมพันแพงก็อาจจะถูกกลั่นแกล้งหรือถูกของได้ง่ายขึ้น

                   4.   หลังชนต้องให้หยุดพักผ่อนเพียงพอ ไม่ว่าจะชนแพ้หรือชนะ หากยังจะไว้ชนอีกต้องให้วัวได้พักเพียงพอ หากชนนานเกิน 30 นาที ต้องพักวัวสัก 3 – 4 เดือน ดูส� าพความบอบช้ำประกอบด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโคนเขาต้องดูแลใส่ยาหรือฉีดยาแก้อักเสบเป็นพิเศษ หากชนไม่นานให้พักเพียงเดือนเดียวก็สามารถชนได้อีก

การถ่ายทอดความรู้

                   ท่านบอกว่ายินดีจะถ่ายทอดความรู้ที่สะสมมากว่า 40 ปี ให้ทุกคนที่สนใจ แต่ข้อสำคัญต้องใจรักจริง  ไม่เช่นนั้นก็ไปไม่รอด เพราะการเลี้ยงวัวชน ต้องใช้เวลาและน้ำอดน้ำทน หากต้องเรียนรู้จริงต้องไปอยู่กับท่านสักระยะจะได้พาลงปฏิบัติจริง เล่าด้วยปากมันทำยาก ก่อนจบท่านทิ้งท้ายไว้ว่า อยากให้อนุชนหันมาสนใจวัวชนกันบ้างและวอนสังคมอย่ามองวัวชนว่าเป็นเพียงเรื่องของการพนัน ท่านให้ข้อคิดว่าหากไม่มีการเลี้ยงวัวชน ป่านนี้วัวพื้นเมืองอาจเหลือน้อยเต็มทีแล้ว เพราะไม่มีที่เลี้ยง ทุ่งนาก็สร้างสวนกันหมดแล้ว อีกอย่างในทัศนะท่าน การคัดเลือกวัวชนก็คือการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์วัวเนื้อดีๆ นี่เอง เพราะวัวชนกับวัวเนื้อจะต้องการหุ่นเตี้ยล่ำสันเหมือนกัน ตัวต้องใหญ่หนา กล้ามเนื้อมาก จะต่างกันอย่างเดียวก็คือวัวชนไม่ต้องการบั้นท้ายใหญ่เหมือนวัวเนื้อ ต้องการตะโพกเรียวเล็กเหมือนสิงโต เพื่อความคล่องตัวในการขับเคลื่อนเวลาชน แต่ต้องการคร่อมอกใหญ่ เพราะเวลาชนต้องการแรงกดยันคู่ต่อสู้บริเวณสองขาหน้าเป็นหลัก ท่านร่ายยาวทิ้งท้ายอย่างนักสัตวบาล ผู้สัม� าษณ์ได้แต่ฟังและผงกหน้ารับเป็นจังหวะก่อนจะลาจากด้วยความ� าค� ูมิใจในความเป็นปราชญ์ชุมชนผู้รู้จริง.... ได้แต่ครุ่นคิดว่า� ูมิปัญญาของท่านคงจะไม่สูญสลายไปกับท่านเมื่อวันนั้นมาถึง?


     
ภาพกิจกรรม



นายมิ่ง คงดี รับมอบประกาศกิตติคุณ จากรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง











นายมิ่ง คงดี ปราชญ์การเลี้ยงวัวชน