ฝน โปรยรับงานเดือนสิบแต่เช้าวันต้นเทศกาล ดังคำท่านว่า "คนมีวาสนาทำบุญฝนตก ยาจกทำบุญแดดออก" ด้านคนต่างถิ่นก็เข้าถึงภาวะที่ เอาแน่เอานอนไม่ได้ ของอากาศคาบสมุทรภาคใต้ไปพร้อมกัน
ชนวัวเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญ ? คงไม่ใช่เรื่องจะมาสอบถามกันเวลานี้ (มิฉะนั้นจะต้องลากไปถึงว่า "บุญ" คืออะไร) การชนวัวดำรงอยู่ควบคู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราชมาช้านาน ในฐานะกีฬาพื้นบ้าน ในเทศกาลบุญเดือนสิบ ตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ ถือว่าขาดวัวชนไม่ได้
ช่วงเทศกาลบุญเดือนสิบ (ราวปลายเดือนกันยายน) สนามชนวัวหรือบ่อนวัวบ้านยวนแหลของอำเภอเมือง จัดมหกรรมชนวัวต่อเนื่องกันเจ็ดแปดวัน เปิดฉากจากสาย ๆ ว่ากันไปจนใกล้ค่ำจึงแล้วเสร็จ ๑๘-๒๐ คู่ มีให้ดูกันจุใจขนาดนี้ บริเวณรอบ ๆ สนามชนวัวจึงกลายเป็นคอกขนาดใหญ่ให้โคถึกกว่า ๒๐๐ ตัวพักแรมรอลงสนาม พร้อมคนเลี้ยงวัว หุ้นส่วนชีวิตที่กินนอนด้วยกันนานแรมเดือน
ชนวัวช่วงเทศกาลจัดว่าเป็นนัดพิเศษ วัวเก่งก็มีวัวใหม่ก็มาก เนื่องจากตลอดปี จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชนวัวแทบทุกสัปดาห์ หมุนเวียนกันไปในหกสนามของอำเภอต่าง ๆ โดยแต่ละสนามได้รับอนุญาตให้จัดเดือนละครั้ง
ชนวัวเป็นส่วนหนึ่งของงานบุญ ? คงไม่ใช่เรื่องจะมาสอบถามกันเวลานี้ (มิฉะนั้นจะต้องลากไปถึงว่า "บุญ" คืออะไร) การชนวัวดำรงอยู่ควบคู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราชมาช้านาน ในฐานะกีฬาพื้นบ้าน ในเทศกาลบุญเดือนสิบ ตรุษสงกรานต์ ปีใหม่ ถือว่าขาดวัวชนไม่ได้
ช่วงเทศกาลบุญเดือนสิบ (ราวปลายเดือนกันยายน) สนามชนวัวหรือบ่อนวัวบ้านยวนแหลของอำเภอเมือง จัดมหกรรมชนวัวต่อเนื่องกันเจ็ดแปดวัน เปิดฉากจากสาย ๆ ว่ากันไปจนใกล้ค่ำจึงแล้วเสร็จ ๑๘-๒๐ คู่ มีให้ดูกันจุใจขนาดนี้ บริเวณรอบ ๆ สนามชนวัวจึงกลายเป็นคอกขนาดใหญ่ให้โคถึกกว่า ๒๐๐ ตัวพักแรมรอลงสนาม พร้อมคนเลี้ยงวัว หุ้นส่วนชีวิตที่กินนอนด้วยกันนานแรมเดือน
ชนวัวช่วงเทศกาลจัดว่าเป็นนัดพิเศษ วัวเก่งก็มีวัวใหม่ก็มาก เนื่องจากตลอดปี จังหวัดนครศรีธรรมราชมีชนวัวแทบทุกสัปดาห์ หมุนเวียนกันไปในหกสนามของอำเภอต่าง ๆ โดยแต่ละสนามได้รับอนุญาตให้จัดเดือนละครั้ง
หากต้องการขยายภาพความนิยมใน "กีฬา" ชนิดนี้ ให้กว้างขึ้นจากเมืองคอน จะเห็นว่าพัทลุง ตรัง สงขลาก็มีบ่อนชนวัวของตัวเองจังหวัดละสองสามสนาม รวมเป็น ๒๒ สนามทั่วภาคใต้ในขอบเขตวัฒนธรรมชนวัว บางจังหวัดแม้ไม่มีบ่อนชนวัวเป็นการถาวร แต่ก็นิยมเลี้ยงไว้ขายและชนต่างถิ่น
วัวดีที่สุดของภาคใต้ขณะนี้ นักเลงวัวยอมรับว่าเป็นวัวของบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่มีสนามชนวัวของตัวเอง
นอกจากนี้ การที่โคถึกวัยคะนอง ช่วงอายุระหว่าง ๕-๑๕ ปี ไม่อาจจะลงสนามได้ทุกบ่อยเหมือนนักมวยงานวัด ชนครั้งหนึ่งต้องพักรักษาตัวไปสองสามเดือน บางตัวต้องหกเดือน จึงติดคู่ชนครั้งใหม่ อาจเป็นตัวอย่างทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเรามีวัวชนหมุนเวียน อยู่ในลานทรายอันมหึมามากมายเพียงใด
หากคุณนั่งรถผ่านย่านที่มีรถ เก๋ง รถปิกอัป มอเตอร์ไซค์จอดเต็มสองฟากถนนเป็นแนวยาว เก้าในสิบที่เจอก็ควรเป็นสังเวียนชนวัว ที่ซึ่งเงินสด ๆ สะพัดวันละเหยียบ ๑๐ ล้านบาท หากเป็นวัวดีของภาคใต้ค่าหัว ๓-๔ แสนบาทโคจรมาเจอกันด้วยแล้วบ่อนแทบปริ ค่าผ่านประตูรอบเดียวอาจเก็บได้ถึง ๓ ล้านบาท เหมือนที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์จำติดตาว่า "ใบห้าร้อยยัดใส่หลัว...ไม่ต้องนับ"
เรามักจะเห็นวัวชนต่อเมื่อมันถูกจูงเข้าสนาม หรือยามออกเดินถนนกับคนเลี้ยง ตามฐานะความสัมพันธ์ ระหว่างวัวชนกับคนเลี้ยงหรือเจ้าของ ทว่าระหว่างหัวเชือกทั้งสองข้าง คือในมือคนจูงวัวข้างหนึ่งกับจมูกวัวข้างหนึ่ง ยังประกอบด้วยสายสัมพันธ์แวดล้อมอื่น ๆ ที่มองไม่เห็นของ "สังคมชนวัว" ซึ่งควรแก่การสนใจไม่น้อย นับตั้งแต่ครอบครัวคนเลี้ยงวัว, เถ้าแก่ (นักธุรกิจ) เจ้าของวัว, นายสนามชนวัว, ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดชนวัว, นักพนัน, พ่อค้าแม่ค้า, คนให้เช่าที่พักวัว, ผู้อุปถัมภ์สนาม, นักการเมืองท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจหมายรวมถึง ขนบนิยมแฝงเร้นว่าด้วยการเสี่ยงสู้ ความต้องการเอาชนะ ไว้เหลี่ยมไว้เชิง ไม่ยอมเสียเปรียบของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยวัวชนเป็นตัวแทน
การคลายเกลียวเชือกแห่งความสัมพันธ์คงต้องเริ่มตั้งแต่ -- วิถีความคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งวัวดี
วัวดีที่สุดของภาคใต้ขณะนี้ นักเลงวัวยอมรับว่าเป็นวัวของบ้านนาสาร สุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่มีสนามชนวัวของตัวเอง
นอกจากนี้ การที่โคถึกวัยคะนอง ช่วงอายุระหว่าง ๕-๑๕ ปี ไม่อาจจะลงสนามได้ทุกบ่อยเหมือนนักมวยงานวัด ชนครั้งหนึ่งต้องพักรักษาตัวไปสองสามเดือน บางตัวต้องหกเดือน จึงติดคู่ชนครั้งใหม่ อาจเป็นตัวอย่างทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าเรามีวัวชนหมุนเวียน อยู่ในลานทรายอันมหึมามากมายเพียงใด
หากคุณนั่งรถผ่านย่านที่มีรถ เก๋ง รถปิกอัป มอเตอร์ไซค์จอดเต็มสองฟากถนนเป็นแนวยาว เก้าในสิบที่เจอก็ควรเป็นสังเวียนชนวัว ที่ซึ่งเงินสด ๆ สะพัดวันละเหยียบ ๑๐ ล้านบาท หากเป็นวัวดีของภาคใต้ค่าหัว ๓-๔ แสนบาทโคจรมาเจอกันด้วยแล้วบ่อนแทบปริ ค่าผ่านประตูรอบเดียวอาจเก็บได้ถึง ๓ ล้านบาท เหมือนที่ผู้อยู่ในเหตุการณ์จำติดตาว่า "ใบห้าร้อยยัดใส่หลัว...ไม่ต้องนับ"
เรามักจะเห็นวัวชนต่อเมื่อมันถูกจูงเข้าสนาม หรือยามออกเดินถนนกับคนเลี้ยง ตามฐานะความสัมพันธ์ ระหว่างวัวชนกับคนเลี้ยงหรือเจ้าของ ทว่าระหว่างหัวเชือกทั้งสองข้าง คือในมือคนจูงวัวข้างหนึ่งกับจมูกวัวข้างหนึ่ง ยังประกอบด้วยสายสัมพันธ์แวดล้อมอื่น ๆ ที่มองไม่เห็นของ "สังคมชนวัว" ซึ่งควรแก่การสนใจไม่น้อย นับตั้งแต่ครอบครัวคนเลี้ยงวัว, เถ้าแก่ (นักธุรกิจ) เจ้าของวัว, นายสนามชนวัว, ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดชนวัว, นักพนัน, พ่อค้าแม่ค้า, คนให้เช่าที่พักวัว, ผู้อุปถัมภ์สนาม, นักการเมืองท้องถิ่น นอกจากนี้ยังอาจหมายรวมถึง ขนบนิยมแฝงเร้นว่าด้วยการเสี่ยงสู้ ความต้องการเอาชนะ ไว้เหลี่ยมไว้เชิง ไม่ยอมเสียเปรียบของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาศัยวัวชนเป็นตัวแทน
การคลายเกลียวเชือกแห่งความสัมพันธ์คงต้องเริ่มตั้งแต่ -- วิถีความคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งวัวดี
การได้มาซึ่งชัยชนะต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกเฟ้นวัวชน
"ลุงดำ" เจ้าของวัวโหนดนำโชค ยังคงเชื่อเรื่องลักษณะเด่นจำเพาะของวัวดี ที่คนรุ่นเก่าเชื่อถือสืบกันมาว่า ให้ดูที่ขวัญ เขา สี ลักษณะอันเป็นศุภลักษณ์
"โคโหนด" มีสีแดงอมน้ำตาลระเรื่อของลูกตาลโตนดตรงบริเวณลำตัว ใต้ท้อง ส่วนหัวและสะโพกเป็นสีดำ "โคดุกด้าง" หมายถึงสีเทา - ดำหม่นเหมือนสีปลาดุก "ลังสาด" ก็คือสีน้ำตาลของผลลางสาด นอกจากนั้นก็มี สีแดง สีขาว นิลที่เป็นสีดำจนถึงดำเข้มตลอดทั้งตัว นักเลงวัวเรียกขานวัวของเขา จากสีพ่วงท้ายด้วยฉายาที่อาจเป็นลักษณะเฉพาะของวัวตัวนั้น หรือที่เป็นมงคลโดนใจ
แต่ละสียังมีโทนสีปลีกย่อยออกไปพอสมควร น่าสนใจตรงที่มีความเชื่อกันว่า วัวสีหนึ่งจะชนะวัวบางสี และอาจจะแพ้วัวบางสี เช่น วัวนิลเพชรชนะวัวโหนด วัวโหนดชนะวัวขาว ส่วนวัวที่ถือกันว่ามีลักษณะดีเลิศ ชนะวัวทั้งปวงคือ "วัวศุภราช" ลำตัวสีแดงเหมือนแสงเพลิงที่รุ่งโรจน์ แต่มีรอยด่างขาวตั้งแต่โคนหางตลอดถึงตา โดยเฉพาะบริเวณเท้าทั้งสี่ หาง หนอก หน้า ดังคำกล่าวที่ว่า "ตีนด่าง หางดอก หนอกผาดผ้า หน้าใบโพ" แต่วัวลายโดยทั่วไปที่ไม่ใช่วัวศุภราช จะไม่เป็นที่นิยมใช้เป็นวัวชน เพราะถือว่า "วัวลายควายขาวย่อมใจเสาะ" เจ้าของบางคนเลือกวัวที่สีถูกโฉลกกับชะตาราศีตัวเองด้วย ดูขวัญ เขา สีแล้ว ยังต้องดูลักษณะเด่นบางอย่างประกอบ ตั้งแต่ รูปหน้า หู ตา หาง ลึงค์ ลูกอัณฑะ จนถึงขนที่อวัยวะเพศ อย่างที่ชาวบ้านประมวลไว้คล้องจองว่า "หู ตาเล็ก หางร่วง หัวรก หมอยดก คิ้วหนา หน้าสั้น เขาใหญ่ ลูกไข่ช้อนไปข้างหน้า" แต่ถ้าวัวมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ เขากาง หลังโกง หางสั้นหรือยาวมากเกินปรกติ ถือกันว่าไม่ดี
แต่จากประสบการณ์ของคนเลี้ยงวัว ไม่มีวัวตัวใดที่มีนิมิตดี ครบถ้วนทุกลักษณะวัวชน แล้วจริง ๆ ก็ไม่น่าจะมีวัวครอบครองลักษณะเลว ครบถ้วนทุกกระบวนท่าเหมือนกัน ส่วนใหญ่มีทั้งลักษณะดีและร้ายคละปนกัน วัวชนที่มีลักษณะดี ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นวัวชนที่ดี และชนชนะเสมอไป ขณะที่ตำราลักษณะวัวชนกล่าวว่า วัวที่ลักษณะร้ายสามข้อดังกล่าวข้างต้น รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คือ "เขากาง หางเกิน และหลังโกง" ก็กลับถือว่าเป็นลักษณะที่ดี ว่ากันว่า "แดงไพรวัลย์" วัวชนลือชื่อในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้
สิ่งที่คนรุ่นก่อนบอกเล่าต่อมาในรูปมุขปาฐะ นับเป็นภูมิปัญญาจากการเฝ้าสังเกต เก็บข้อมูลมาเนิ่นนาน วัวชนเป็นกีฬาที่ต้องต่อสู้แบบประจันหน้าตัวต่อตัว ดังนั้นการที่อวัยวะบางส่วน มีคุณลักษณะเด่น ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบคู่ต่อสู้ ในขณะที่อวัยวะบางส่วนต้องมีขนาดเล็ก เพื่อจะได้รอดพ้นจากการทำลายของคู่ต่อสู้ให้มากที่สุด คนปักษ์ใต้แยกอธิบายว่า "เขา" วัวชนต้องมีโคนเขาใหญ่และแคบ ช่วยป้องกันไม่ให้ปลายเขาของคู่ต่อสู้ ทะลวงเข้าไปทิ่มแทงกล้ามเนื้อบริเวณกกหู และลำคอได้
"วงหน้า" ต้องมีขนาดเล็ก มนและสั้น ด้านหน้าของหัวแคบมีความสัมพันธ์กับโคนเขาใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อ จำกัดพื้นที่ส่วนหน้า ที่จะต้องเสียดสี และเปิดรับอาวุธคู่ต่อสู้ให้น้อยที่สุด
"คิ้วและตา" คิ้วหนา ตาเล็กต่างก็เกื้อกูลในทำนองที่จะช่วยปกป้องตา ไม่ให้ได้รับอันตรายจากทั้งปลายเขาของคู่ต่อสู้ และเลือดที่ไหลในขณะทำการต่อสู้
ขณะที่ลักษณะบางอย่างน่าจะมาจากความเชื่อล้วน ๆ เช่น "หัวรก หมอยดก" ชาวบ้านแปลความว่า เป็นวัวที่มีใจมาก น้ำอดน้ำทนสูง ไม่ยอมแพ้คู่ต่อสู้ง่าย ๆ
"ลุงดำ" เจ้าของวัวโหนดนำโชค ยังคงเชื่อเรื่องลักษณะเด่นจำเพาะของวัวดี ที่คนรุ่นเก่าเชื่อถือสืบกันมาว่า ให้ดูที่ขวัญ เขา สี ลักษณะอันเป็นศุภลักษณ์
"โคโหนด" มีสีแดงอมน้ำตาลระเรื่อของลูกตาลโตนดตรงบริเวณลำตัว ใต้ท้อง ส่วนหัวและสะโพกเป็นสีดำ "โคดุกด้าง" หมายถึงสีเทา - ดำหม่นเหมือนสีปลาดุก "ลังสาด" ก็คือสีน้ำตาลของผลลางสาด นอกจากนั้นก็มี สีแดง สีขาว นิลที่เป็นสีดำจนถึงดำเข้มตลอดทั้งตัว นักเลงวัวเรียกขานวัวของเขา จากสีพ่วงท้ายด้วยฉายาที่อาจเป็นลักษณะเฉพาะของวัวตัวนั้น หรือที่เป็นมงคลโดนใจ
แต่ละสียังมีโทนสีปลีกย่อยออกไปพอสมควร น่าสนใจตรงที่มีความเชื่อกันว่า วัวสีหนึ่งจะชนะวัวบางสี และอาจจะแพ้วัวบางสี เช่น วัวนิลเพชรชนะวัวโหนด วัวโหนดชนะวัวขาว ส่วนวัวที่ถือกันว่ามีลักษณะดีเลิศ ชนะวัวทั้งปวงคือ "วัวศุภราช" ลำตัวสีแดงเหมือนแสงเพลิงที่รุ่งโรจน์ แต่มีรอยด่างขาวตั้งแต่โคนหางตลอดถึงตา โดยเฉพาะบริเวณเท้าทั้งสี่ หาง หนอก หน้า ดังคำกล่าวที่ว่า "ตีนด่าง หางดอก หนอกผาดผ้า หน้าใบโพ" แต่วัวลายโดยทั่วไปที่ไม่ใช่วัวศุภราช จะไม่เป็นที่นิยมใช้เป็นวัวชน เพราะถือว่า "วัวลายควายขาวย่อมใจเสาะ" เจ้าของบางคนเลือกวัวที่สีถูกโฉลกกับชะตาราศีตัวเองด้วย ดูขวัญ เขา สีแล้ว ยังต้องดูลักษณะเด่นบางอย่างประกอบ ตั้งแต่ รูปหน้า หู ตา หาง ลึงค์ ลูกอัณฑะ จนถึงขนที่อวัยวะเพศ อย่างที่ชาวบ้านประมวลไว้คล้องจองว่า "หู ตาเล็ก หางร่วง หัวรก หมอยดก คิ้วหนา หน้าสั้น เขาใหญ่ ลูกไข่ช้อนไปข้างหน้า" แต่ถ้าวัวมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ เขากาง หลังโกง หางสั้นหรือยาวมากเกินปรกติ ถือกันว่าไม่ดี
แต่จากประสบการณ์ของคนเลี้ยงวัว ไม่มีวัวตัวใดที่มีนิมิตดี ครบถ้วนทุกลักษณะวัวชน แล้วจริง ๆ ก็ไม่น่าจะมีวัวครอบครองลักษณะเลว ครบถ้วนทุกกระบวนท่าเหมือนกัน ส่วนใหญ่มีทั้งลักษณะดีและร้ายคละปนกัน วัวชนที่มีลักษณะดี ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นวัวชนที่ดี และชนชนะเสมอไป ขณะที่ตำราลักษณะวัวชนกล่าวว่า วัวที่ลักษณะร้ายสามข้อดังกล่าวข้างต้น รวมอยู่ในตัวเดียวกัน คือ "เขากาง หางเกิน และหลังโกง" ก็กลับถือว่าเป็นลักษณะที่ดี ว่ากันว่า "แดงไพรวัลย์" วัวชนลือชื่อในอดีตก็มีลักษณะเช่นนี้
สิ่งที่คนรุ่นก่อนบอกเล่าต่อมาในรูปมุขปาฐะ นับเป็นภูมิปัญญาจากการเฝ้าสังเกต เก็บข้อมูลมาเนิ่นนาน วัวชนเป็นกีฬาที่ต้องต่อสู้แบบประจันหน้าตัวต่อตัว ดังนั้นการที่อวัยวะบางส่วน มีคุณลักษณะเด่น ก็จะเป็นฝ่ายได้เปรียบคู่ต่อสู้ ในขณะที่อวัยวะบางส่วนต้องมีขนาดเล็ก เพื่อจะได้รอดพ้นจากการทำลายของคู่ต่อสู้ให้มากที่สุด คนปักษ์ใต้แยกอธิบายว่า "เขา" วัวชนต้องมีโคนเขาใหญ่และแคบ ช่วยป้องกันไม่ให้ปลายเขาของคู่ต่อสู้ ทะลวงเข้าไปทิ่มแทงกล้ามเนื้อบริเวณกกหู และลำคอได้
"วงหน้า" ต้องมีขนาดเล็ก มนและสั้น ด้านหน้าของหัวแคบมีความสัมพันธ์กับโคนเขาใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อ จำกัดพื้นที่ส่วนหน้า ที่จะต้องเสียดสี และเปิดรับอาวุธคู่ต่อสู้ให้น้อยที่สุด
"คิ้วและตา" คิ้วหนา ตาเล็กต่างก็เกื้อกูลในทำนองที่จะช่วยปกป้องตา ไม่ให้ได้รับอันตรายจากทั้งปลายเขาของคู่ต่อสู้ และเลือดที่ไหลในขณะทำการต่อสู้
ขณะที่ลักษณะบางอย่างน่าจะมาจากความเชื่อล้วน ๆ เช่น "หัวรก หมอยดก" ชาวบ้านแปลความว่า เป็นวัวที่มีใจมาก น้ำอดน้ำทนสูง ไม่ยอมแพ้คู่ต่อสู้ง่าย ๆ
No comments:
Post a Comment